ประวัติสุเหร่าสีน้ำเงินตุรกี

Turkish-Blue-Mosque

ประเทศตุรกีนับว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีมากของโลก ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป นั่นทำให้ประเทศนี้เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ความเชื่อมากมาย อีกทั้งหลากหลายด้วย ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นจะถูกส่งต่อมาถึงปัจจุบันในรูปแบบคำสอน รวมถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่แม้จะผ่านเวลามาหลายร้อยปีบางแห่งยังตั้งตระหง่านอยู่เลย หนึ่งในสถาปัตยกรรมสำคัญของประเทศตุรกีก็คือ สุเหร่าสีน้ำเงิน ที่แห่งนี้มีเรื่องราวอย่างไร เราจะมาเล่าให้ฟัง

ต้นกำเนิดของสุเหร่าสีน้ำเงิน

สุเหร่าสีน้ำเงินแห่งนี้ เป็นอะไรมากกว่าสถานที่ทางศาสนาอย่างเดียว สุเหร่าแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง อิสตันบูล ความน่าสนใจอย่างแรกก็คือ แรงบันดาลใจในการสร้าง มาจากการต้องการจะสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าวิหารเซนต์โซเฟียของศาสนาคริสต์ (เล่าเพิ่มเติมว่า ดินแดนตุรกีนั้นมีการผสมกันระหว่างความเชื่อสองศาสนา อิสลาม กับ คริสต์) ตอนนั้นวิหารเซนต์โซเฟียได้รับการยกย่องอย่างมากถึงความสวยงาม ความยิ่งใหญ่ จนถูกจัดเข้าไปหนึ่งเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง นั่นทำให้สุลต่านแห่งออตโตมันหลายพระองค์รู้สึกว่าน้อยหน้าไม่ได้จึงแนวคิดดังกล่าวขึ้น

Turkish-Blue-Mosque-pic

ความพยายามสำเร็จ

จากแนวคิดดังกล่าว แม้ว่าจะมีความพยายามหลายครั้ง หลายยุคหลายสมัยก็ไม่มีใครทำสำเร็จเสียทีด้วยเหตุผลต่างๆ นานา จนมาถึงยุคหนึ่งชื่อว่า ยุคสมัยสุลต่านอาห์เมตที่ 1 ยุคนั้นได้มีสถาปนิกคนหนึ่งชื่อว่า เมห์เมต อาอา เค้ามีความต้องการจะเอาชนะกลุ่มอาจารย์ผู้ออกแบบวิหารเซนต์โซเฟียให้ได้ เค้าได้ใช้ความพยายามอย่างมากจนสุดท้ายแบบมัสยิดแห่งนี้ก็สำเร็จและถูกสร้างขึ้นจนเป็นอย่างที่เราเห็นในที่สุด

สุเหร่าสีน้ำเงิน

สุเหร่าแห่งนี้ตั้งขึ้นหันหน้าเข้าหาวิหารเซนต์โซเฟีย นัยว่าต้องการประชันว่ามัสยิดกับวิหาร ใครจะสวยกว่ากัน โดยสุเหร่าแห่งนี้มีจุดเด่นอย่างหนึ่งก็คือ สีกระเบื้องของสุเหร่าแห่งนี้เป็นสีน้ำเงิน สีนี้มีที่มาจากกระเบื้องอิซนิคบนกำแพงชั้นในที่มีสีฟ้าสดใส ลายดอกไม้ ทำให้สุเหร่าแห่งนี้ถูกเรียกว่า บลูมอสก์ จนมาถึงปัจจุบัน

หอสวดมนต์

มีเรื่องเล่าอีกหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับสุเหร่าสีน้ำเงินแห่งนี้ ก็คือ หอสวดมนต์ เดิมทีองค์สุลต่านรับสั่งให้สร้างหอสวดมนต์ทองคำเพื่อความสวยงาม แต่สถาปนิกผู้สร้างกลับเห็นว่าการสร้างหอสวดมนต์ดังกล่าวเป็นเรื่องยาก และสิ้นเปลืองมากจึงหาทางออกด้วยการสร้างหอสวดมนต์ที่มากถึง 6 หอด้วยกันแทน ซึ่งสุลต่านก็พอพระทัย แต่ต่อมาหอสวดมนต์ 6 หอไปซ้ำกับสุเหร่าของเมืองเมกกะ ซึ่งเป็นเหมือนการลอกเลียนแบบดูไม่เหมาะสม จึงให้สร้างเพิ่มอีกหนึ่งเป็น 7 หอด้วยกัน ก็ถือว่าเป็นสุเหร่าที่มีหอสวดมนต์มากแห่งหนึ่งของโลกเลย